Archive

Year: 2017

  • กลยุทธ์ด้านการตลาด จับทางผู้บริโภค Gen Z

    ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันและการส่งผ่านสู่ เจเนอเรชั่นใหม่ที่เรียกตัวเองว่า Generation Z กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2538-2553 ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามปรับตัวให้เท่าทันกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด เพราะเป็นมีกำลังซื้อมากและเป็นวัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้นการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่ง เนื่องด้วยช่วงวัยนี้ เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อม Digital และ Social Media ที่หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือประชากรในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มาใช้เวลาอยู่กับ“หน้าจอ”เป็นส่วนมาก ดังนั้นปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ได้รับในแต่ละวันจะมีมากมายมหาศาล นักการตลาดจึงต้องพยายามอย่างมากเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พร้อมหาลูกเล่นใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการและดึงดูดความสนใจของประชากร Gen Z ให้ได้ อาทิ การเน้นใช้รูปภาพ อินโฟกราฟิก หรืออินเทอร์เน็ตมีม (Internet memes) ที่มีสีสันและดีไซน์สวยงาม เพราะเด็กรุ่นนี้เติบโตมากับการเล่นเกม ดูยูทูบ หรือรายการโทรทัศน์ ดังนั้นการจะดึงความสนใจของคนกลุ่มนี้จึงควรเน้นไปที่การใช้ภาพ เพื่อสื่อความและนำมาผสมผสานเข้ากับเนื้อหาทางการตลาด และด้วยความโด่งดังของ Social Channels อาทิ Vines, Snapchat และ Instagram ที่เปิดให้ผู้ใช้งานอัพโหลดคลิปสั้นๆ เพื่อแชร์กันในโลกออนไลน์ ทำให้ Gen Z ถือเป็นกลุ่มคนที่ดูคลิปวีดิโอมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ถึงเกือบ 2 เท่าดังนั้น การใช้คลิปวีดิโอสั้นๆ เพื่อเป็นสื่อทางการตลาดก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ การใช้ภาษาที่กระชับและตรงประเด็น ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะความสนใจของเด็กรุ่นนี้จะอยู่แค่ประมาณ 8 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่ได้รับควรสร้างแรงดึงดูดและสามารถเข้าใจง่ายตั้งแต่แรกเห็น ในขณะที่การใช้ “ดารา”มาเป็นพรีเซ็นเตอร์อาจจะไม่ส่งผลอีกต่อไป เพราะแบรนด์ควรใช้ Influencer ที่ให้ความรู้สึกเข้าถึงได้จริง หรือคนที่มีเครือข่ายของตัวเองเข้ามาแทนที่ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีชื่อเสียงขึ้นมาจากผู้ติดตามจำนวนมาก โดยเฉพาะทางช่องทาง social media ทำให้ข้อมูลจำพวก user-generated content จากกลุ่มคนเหล่านี้ ถูกมองว่าเชื่อถือได้มากกว่าในมุมของชาว Gen Z ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรกลุ่มนี้ จะชอบมากถ้าได้มีส่วนร่วมในการ Co-create กับแบรนด์ รวมถึงการร่วมคิด ร่วมสร้างเนื้อหา และร่วมสร้างสรรค์ไปพร้อมๆกับแบรนด์ ซึ่งใครที่สามารถดึงกลุ่มคนเหล่านี้มามีส่วนร่วมได้...

  • ‘ไม่โดนก็ดับ’แบรนด์รอดได้อย่างไรในโลกโซเชียลมีเดีย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โซเชียลมีเดีย” ยังคงถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่หลายๆ องค์กรไม่แน่ใจนักว่า จะนำมาใช้ให้เหมาะสมอย่างไร เอเยนซีจึงมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ลูกค้า นอกไปจากการให้คำปรึกษาเรื่องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ คำถามก็คือ เอเยนซีจะช่วยให้บริษัทเล่าเรื่องราวของตนเองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียอย่างจริงใจได้อย่างไร หากบริษัทต้องการจะสร้างคอนเทนท์ที่น่าสนใจ องค์กรต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับ“สื่อใหม่” ซึ่งนับเป็นเรื่องซับซ้อน โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นแบบ B2B แต่ในโลกยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคทุกคนล้วนแต่รับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะขายขนมขบเคี้ยว หรืออุปกรณ์การแพทย์ก็ตาม แม้ว่าวิธีการวัดผลทางธุรกิจที่ยังไม่แน่นอน ถือเป็นอุปสรรคของการบริหารโซเชียลมีเดีย แต่ปัญหาหลักจริงๆ แล้วอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร เพราะการสื่อสารกับผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย ต้องทำผ่านอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูลหนักๆ กรอบความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีอยู่ในบางองค์กร การมอบหมายให้คนภายนอกดูแลสื่อโซเชียล ไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมนัก บริษัทต้องมีบุคลากรภายในที่สามารถเลือกสรรแง่มุมและเล่าเรื่องราวขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเอเยนซีคอยให้คำปรึกษา หลายๆบริษัทพยายามควานหาผู้เชี่ยวชาญหนึ่งคนเข้ามาทำหน้าที่นี้ แต่พวกเขามักจะต้องพบกับสถานการณ์ที่คนอีกกลุ่มใหญ่ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งแรกที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรได้ก็คือ การช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าเราจะสร้างสรรค์เรื่องราวสำหรับโซเชียลมีเดียได้อย่างไร พวกเขาต้องหาทางพูดถึงจุดเด่นของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ โดยที่แบรนด์ไม่ได้เป็นจุดเด่น แต่อยู่รอบๆ เรื่องราวเหล่านั้น ผู้บริหารต้องเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคจะรับรู้ว่า นี่คือแบรนด์ของบริษัท แม้ว่าจะไม่ได้มีโลโก้ปะอยู่ก็ตาม จากนั้น ผู้บริหารต้องพยายามมองผ่านมุมของผู้บริโภค เช่น พวกเขาคิดอะไรเวลาที่พวกเขายืนต่อแถวในซูเปอร์มาร์เก็ตและเปิดเฟซบุ๊คไปด้วย แล้วเวลาดูฟุตบอลทางทีวี สิ่งใดบ้างที่จะสะดุดตาพวกเขา ที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย คู่แข่งของพวกเขาไม่ใช่แบรนด์อื่น แต่เป็นรูปลูกแมวและรูปงานแต่งงานของดาราที่อยู่รอบๆ พวกเขากำลังแข่งกับสิ่งอื่นๆทั้งหมดในโซเชียลมีเดียต่างหาก หลังจากนั้น จึงเริ่มคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่จะนำเสนอ ค่านิยมของบริษัทคืออะไร ใครคือกลุ่มเป้าหมาย พวกเขาเหล่านั้นมีความสนใจอะไร และเราจะสร้างคอนเทนท์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เป็นเรื่องน่าเสียดายที่บริษัทขนาดใหญ่ ประเด็นในการเล่าเรื่องมักจะถูกปรับแก้ให้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ซีอีโอ แผนกบุคคล และแผนกกฎหมาย แต่หากทุกๆคนได้รับอำนาจในการปรับคอนเทนท์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตน คอนเทนท์ ก็จะเป็นเรื่องราวเรียบๆ ที่ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้อ่านได้เท่าๆ กับโพสต์ของบล็อกเกอร์ที่เล่าเรื่องราวตลกๆของตนเอง ท้ายที่สุดแล้ว ถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่ต้องเปิดพื้นที่ให้กับการเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ อิสรภาพทางความคิดก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย และทำให้คอนเทนท์ ที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ การซื้อยอดวิวเป็นเรื่องง่าย แต่แบรนด์ไม่สามารถใช้เงินซื้อให้คนกดไลค์ หากเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตของพวกเขาอย่างแท้จริง ติดตามบทความนี้บนเว็ปไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้ทาง http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640592...