งานสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “PR Love Volution 2016” โดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไปบริษัทเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย

เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย นำโดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไป เข้าร่วมงานสัมมนา “PR Lovevolution 2016” จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประชาสัมพันธ์ในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และอัพเดทข้อมูลข่าวสาร รวมถึงนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท โฮเทล กรุงเทพเมื่อเร็วๆนี้

PR Love Volution 2016 with Sophis Kasemsahasin 01

คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์นั้นไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสาร หากยังเป็นหนทางอันดีที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนผ่านการสื่อสารที่สำคัญจากช่องทางแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มแบบดิจิตอล เป็นเหตุให้ภาพรวมของสื่อแต่ละแขนงเกิดการเปลี่ยนแปลงและธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถสื่อสารโดยใช้เพียงแค่ช่องทางแบบดั้งเดิมอีกต่อไป
สืบเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภค คนจำนวนมากมักจะบริโภคสื่อผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารส่วนตัวของพวกเขา อาทิ สมาร์ทโฟน ไอโฟน ไอแพด เป็นต้น ซึ่งมีข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กประมาณ 20 ล้านคน และมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ผู้คนใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กเฉลี่ย 3.7 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น เทรนด์ในส่วนของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ หรือ Internet of Things จึงกลายเป็นหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นทั้งในและนอกที่ทำงาน อย่างไรก็ตามในส่วนของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เฟลชแมนฮิลลาร์ดได้ตั้งทีมวิเคราะห์และวิจัยข้อมูล เพื่อที่จะสามารถแนะนำโซลูชั่นด้านการวิเคราะห์เนื้อหาให้กับลูกค้า ทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารโดยใช้ข้อความที่เหมาะสมและพัฒนาแผนการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

PR Love Volution 2016 with Sophis Kasemsahasin 02

เทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์
ประสบการณ์ต่างๆถูกขับเคลื่อนโดย

  • นวัตกรรม (Innovation): นักสื่อสารควรเลือกสื่อและนำวิธีการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค
  • การสอดแทรกแนวความคิดใหม่ๆ(Disruption) : นักสื่อสารควรคิดนอกกรอบและสร้างแนวทางที่แตกต่างให้แก่แบรนด์ ซึ่งควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลักโดยจะต้องทำความเข้าใจ,เข้าถึง ,รวบรวมข้อมูล และร้อยเรียงวัตถุประสงค์ของแบรนด์ให้เกิดเป็นเรื่องราว ที่จะทำให้ผู้รับสารของคุณสารมารถเข้าถึงตัวตนของแบรนด์ได้
  • ประสบการณ์(Experience): เทคโนโลยีนั้นคอยขับเคลื่อนและนำประสบการณ์ใหม่ๆมาสู่ผู้บริโภคอยู่เสมอ เช่น การซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นต้น
  • กระบวนการตัดสินใจซื้อ(Journey) : นักสื่อสารควรสังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะได้รู้ข้อมูลเชิงลึกและใช้ประโยชน์จากผลตอบรับจากประสบการณ์ของผู้บริโภคในการพัฒนาการสื่อสาร

อะไรคือความหมายของการสื่อสาร?

  1. ความแท้จริง (Authenticity): นักสื่อสารควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพื่อให้บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะเป็นผู้ส่งสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แทนการสื่อสารทั่วไปที่แบรนด์เป็นผู้ส่งสาร โดยยกระดับให้เปลี่ยนไปจากการสื่อสารรูปแบบเดิมไม่ได้เป็นเพียงแค่การส่งสารจากแบรนด์ หรือ ‘I say’ เท่านั้น
  2. ชื่อเสียง (Reputation): สร้างสรรค์เนื้อหาให้เข้ากับวัตถุประสงค์และภาพลักษณ์ของแบรนด์
  3. คุณค่าของเนื้อหาที่ได้รับการส่งต่อ (Shared Value): พัฒนาเค้าโครงเรื่องให้มีความสร้างสรรค์เพื่อที่จะเพิ่มผลลัพธ์ที่ทรงพลังและคุณค่าสำหรับการส่งต่อเนื้อหาในวงกว้าง
  4. ความโปร่งใสและการได้รับความเชื่อมั่น (Transparency & Earned Trust) : ส่งสารด้วยความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้มาซึ่งความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภค
  5. การให้ความสำคัญกับคุณค่าของคน (Humanity): การสร้างค่านิยมร่วมเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืน
  6. บทบาทของผู้บริหารระดับสูงกับโซเชียลมีเดีย (The Social ‘CEO’): ช่องทางการสื่อสารอันทรงพลังที่ใช้สื่อสารโดยผู้บริหารระดับสูงสามารถถ่ายทอดสารต่างๆขององค์กรหรืออัพเดทข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพวกเขาได้โดยตรง นับเป็นอีกหนึ่งดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ผู้บริหารระดับสูงนำมาใช้เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์
  7. การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) :เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่สำคัญในส่วนของวิธีการรับมือกับภาวะวิกฤตในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการจัดการกับชื่อเสียงของคุณผ่านสื่อแบบดั้งเดิม แต่ยังเกี่ยวกับการจัดการและการตรวจสอบอย่างรอบคอบในโซเชียลมีเดีย ทั้งบัญชีผู้ใช้งาน เว็บไซต์ ตลอดจนแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งที่สังคมพูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะวิกฤตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาค
  8. แนวทางใหม่สำหรับการประชาสัมพันธ์ :
    • ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)
    • ช่องทางที่หลากหลาย (Channel Diversity)
    • การสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ (Earn Trust & Reputation)
    • การสนทนา (Conversation)
    • การปรับใช้ (Conversion)
    • การสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริง ( Organic Engagement)
    • วัดผลการเปลี่ยนแปลง (Measure Change)
    • ผลลัพธ์ทางธุรกิจและสังคม (Business Outcome & Society)PR Love Volution 2016 with Sophis Kasemsahasin 03
  • โสพิส  เกษมสหสิน

    ในฐานะที่เป็นผู้นำบริษัทเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย คุณโสพิส ได้นำประสบการณ์ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ และสื่อสารการตลาดที่ดำเนินการให้กับบริษัทข้ามชาติ บริษัทชั้นนำของไทย และหน่วยงานภาครัฐที่ประสบผลสำเร็จ  เข้ามาบริหารแนวทางการทำงานให้กับกลุ่มลูกค้าของเฟลชแมนฮิลลาร์ด รวมถึงการออกแบบกลยุทธ์การสื่อสารในการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ด้วยความเชี่ยวชาญในหลากหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสารเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน การสื่อสารองค์กร ตลอดจนกิจกรรมเพื่อสังคมและการตลาดเพื่อผู้บริโภค โดยก่อนหน้าที่คุณโสพิสจะเข้าร่วมกับเฟลชแมนฮิลลาร์ด คุณโสพิสได้เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทั้งในเอเจนซี่และภายในองค์กรชั้นนำระดับโลก อาทิ บริษัทเอคเซนเชอร์ ในฐานะผู้บริหารงานด้านการสื่อสารการตลาดประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ครอบคลุมใน 11 ประเทศด้วยกัน

    See profile