ความสำเร็จ

Author: Corporate Marketing

  • เฟลชแมนฮิลลาร์ด เผยมุมมองมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 กับอนาคตที่ไปไกลกว่าการยึดติดกับ “แบรนด์”

    19 ตุลาคม 2561 -- เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ผู้นำด้านประชาสัมพันธ์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งระดับโลก เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดด้านความเชื่อ ทัศนคติ และมุมมองต่อสังคม ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการบริโภคของมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 ชี้ คนหนุ่มสาวยุคใหม่มีนิยามของความสำเร็จและความสุขที่ต่างออกไป แสวงหาความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และไม่ยึดติดกับแบรนด์ แม้ “เงิน” จะสำคัญ แต่ “ความสุข” นั้น สำคัญกว่า                                   ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 70% ยอมรับว่าเงินคือตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุด และอีกกว่า87% ยังเผยว่ารู้สึกดีที่ได้ใช้จ่ายเพื่อปรนเปรอตนเอง แต่พวกเขากลับบอกว่าแม้ว่า “เงิน” จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่พวกเขาก็มีความชัดเจนกับความต้องการของตัวเองมากพอที่จะไม่มองว่าเงินสำคัญมากไปกว่าความสุขในชีวิต นอกจากนี้ พวกเขายังให้ความเห็นต่อนิยามของความสุขว่าคือการมีสุขภาพที่ดี (67%) และการมีเวลาให้กับตัวเองและความมีอิสระในการใช้ชีวิต (67%) ขณะที่สัดส่วนของมนุษย์มิลเลนเนียลที่ให้ความสำคัญกับการออมเงินมีประมาณ 55% ยอมเปย์เท่าไหร่ก็ได้ หากแบรนด์เข้าใจตัวตนของฉัน                                     หนุ่มสาวชาวมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการแสดงความเป็นตัวตนที่ชัดเจนของตนเอง ชาวมิลเลนเนียล 79% จึงพร้อมที่จะจ่ายมากกว่าให้กับสินค้าและบริการ หากแบรนด์นั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะตัวของพวกเขาได้ โดยบรรดาแบรนด์สินค้าห้าอันดับแรกที่สามารถสร้างโอกาสได้ดีในการสร้าง personalized brand สำหรับชาวมิลเลนเนียล ได้แก่สินค้าในกลุ่ม อาหาร ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม สินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ ธนาคาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอกเทศ เอกเทรนด์ แม้จะชอบแบรนด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตน  ทว่ามิลเลนเนียลไทยกลับมองว่าความเป็นปัจเจกชนของพวกเขานั้น ไม่สามารถตอบสนองได้ด้วยแบรนด์ใดเพียงแบรนด์เดียว การที่ 84% ของหนุ่มสาวในยุคนี้ใช้แฟชั่นเป็นเครื่องแสดงตัวตน  ทำให้พวกเขามักมองหากิจกรรม ดนตรี และเสื้อผ้า ที่แตกต่างไปจากกระแสนิยม นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อบ่งชี้ที่แสดงความเป็นเอกเทศมากขึ้นของคนยุคใหม่ก็คือ  ชาวมิลเลนเนียลอยากใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากถึง 86% แม้จะชอบติดต่อกับเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดียอยู่ตลอดเวลา แต่พวกเขากลับให้น้ำหนักความสำคัญกับการออกไปสมาคมสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเพียงแค่ 21% ภาพลักษณ์บนโลกออนไลน์สำคัญกว่าโลกแห่งความจริง แม้พวกเขาจะบอกว่าใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือมากเกินไป แต่ชาวมิลเลนเนียลก็ยอมรับว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และวิธีการแสดงความเป็นตัวตนบนโลกออนไลน์มากกว่าโลกในความเป็นจริงถึง 56% โดยราว 65% กล่าวว่าพวกเขาใช้เวลาไปกับการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้ดูดีขึ้นบนโลกโซเชียล ขณะที่ 56% เชื่อว่าโลก  โซเชียล และแอพต่างๆ เช่น ทินเดอร์ (Tinder) คือสื่อกลางที่จะทำพวกเขาได้เจอกับความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดี คนยุคใหม่มั่นใจกับอนาคตของประเทศ ขณะที่ชาวมิลเลนเนียลแสวงหาความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม อาทิ อิสรภาพในการใช้ชีวิตควบคู่กับการทำงานผ่านเทคโนโลยีในทุกสถานที่ทั่วโลก  ความเท่าเทียมในสังคมผ่านมิติความหลากหลายทางเพศ ศาสนา เชื้อชาติ และวัฒนธรรม  การเมืองที่มุ่งตอบสนองต่อประชาชนส่วนใหญ่ พวกเขาก็ยังเชื่อมั่นกับอนาคตของประเทศไทยว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางทีดีขึ้น โดยผู้ชายยุคมิลเลนเนียล(42%) มีความมั่นใจในอนาคตของประเทศมากกว่าผู้หญิงชาวมิลเลนเนียล (28%) มัดใจชาวมิลเลนเนียลให้อยู่หมัด นางสาว โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป และพาร์ทเนอร์ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ประชากรกลุ่มมิลเลนเนียลที่เราทำการสำรวจนั้น อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25-37ปี ซึ่งเป็นคนวัยทำงานส่วนใหญ่ และเป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้แบรนด์ต่างๆ ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้อย่างมาก “ชาวมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความซับซ้อน พวกเขามีความต้องการและทัศนคติที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้ว ในขณะที่เป็นผู้บริโภคที่กล้าใช้จ่ายกับสินค้าและการบริการที่ตอบโจทย์ความต้อการ แต่กลับคำนึงถึงปัจจัยด้านราคาเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน การที่ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลมีมุมมองด้านการใช้ชีวิตและการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากคนยุคก่อน ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องเร่งทำความเข้าใจ และปรับตัวพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์สินค้าและบริการ รวมไปถึง การนำเสนอโปรแกรมสมาชิกที่ตรงใจผู้บริโภค นอกจากนี้การสร้างแบรนด์ที่มีความหมายต่อตัวตนและความเชื่อ จะซื้อใจพวกเขาได้มากกว่าการสร้างแบรนด์ที่ตอกย้ำสถานะทางสังคม นอกจากนี้การที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความฉลาดเลือกและช่างค้นหา ความจริงใจและโปร่งใสของแบรนด์ รวมไปถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของพวกเขา จะทำให้เข้าถึงชาวมิลเลนเนียลได้มากกว่า” นางสาว โสพิส กล่าว          แบบสำรวจ “มิลเลนเนียลไทย: ความเชื่อ ทัศนคติ และมุมมองต่อสังคม” รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนไทย อายุ 25 – 37 ปี ทั่วประเทศจำนวน 500 คน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ผู้นำด้านประชาสัมพันธ์ระดับโลก กับทีมโกลบัล อินเทลลิเจนซ์ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับอินไซต์ของตลาดและผู้บริโภคของเฟลชแมนฮิลลาร์ด สหรัฐอเมริกา...

  • FleishmanHillard Unveils Perspectives of Thai Millennials 4.0 and the Future Beyond “Brand”

    19 October 2018 – FleishmanHillard Thailand, the world’s leading communications and digital marketing agency, unveils its latest report on the beliefs, attitudes and social perceptions, as well as the living and consumption behavior of Thai Millennial Version 4.0. According to the report, Thai Millennials seem to different definition of success and happiness, long for some changes within the Thai society and do not attach themselves to specific brands. Money may be an essential, but happiness is more important More than 70% of survey respondents point out that money is the best measure of success, and more than 87% admit to feeling good after spending money to treat themselves. Indeed, the respondents admit that money is an essential in life. However, they also stress that they are well aware of their own desires and needs, to such an extent that it prevents them from value money more than happiness. According to the report, the Millennials define the state of happiness as being healthy (67%), having the time for themselves as well as the freedom to live their lives (67%). At the same time, approximately 55% of the Millennials place importance on saving. Paying is never a problem, as long as the brands reflect who I am The Millennials appear to place a lot of importance on distinctive expression of the self. 79% of Millennials are ready to pay more for products and services from a brand that attends to their personal needs and desires. The top five industries with promising potentials in creating personalized brands for the Millennials include F&B, Telecommunications, Lifestyles, Banking and Electronics. Individuality is everything The Millennials believe that their individual identity cannot be defined by one specific brand. The report shows that 84% of the Millennials use fashion as the tool for self-expression, which is why they are always on the lookout for activity, music and clothing which are different from the norm. Another indicator that emphasizes on the heightened individuality of the Millennials is the fact that 84% of the respondents states that they look forward to spending time with themselves. While it is true that the Millennials are always on social media, only 21% of them prioritize socializing with friends. Appearance is more important online Even though the Millennials are aware that they are spending too much time on their Smartphones, they admit that they place priority on their online appearance and self-expression 56% higher than offline. 65% reveals that they spend time taking care of their health so that they can look better on social media, and 56% believe that they can find meaningful, long-lasting relationships through dating apps like Tinder. Thai Millennials are very optimistic about the future of Thailand The report indicates that Millennials are looking for changes within the society including freedom of living, the ability to work anywhere in the world via technology, social equality through gender, religion, race and cultural diversity, as well as politics that support the whole country’s interest, and citizens rather than part of a group’s interest. In any case, Thai millennials are very optimistic about the future of Thailand, as they believe that the country is going to change for the better. Overall, Thai male Millennials express more optimism than females. How to engage Thai Millennials Version 4.0 Sophis Kasemsahasin, Senior Vice President and Partner, General Manager, FleishmanHillard Thailand, explains that survey respondents are Millennials between the age of 25 – 37 years old, most of which are in the working age. Therefore, they are the formidable force that drives current economy and society, thus become the audience targeted by brands. “Millennials are a group...

  • กลยุทธ์ด้านการตลาด จับทางผู้บริโภค Gen Z

    ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันและการส่งผ่านสู่ เจเนอเรชั่นใหม่ที่เรียกตัวเองว่า Generation Z กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2538-2553 ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามปรับตัวให้เท่าทันกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด เพราะเป็นมีกำลังซื้อมากและเป็นวัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้นการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่ง เนื่องด้วยช่วงวัยนี้ เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อม Digital และ Social Media ที่หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือประชากรในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มาใช้เวลาอยู่กับ“หน้าจอ”เป็นส่วนมาก ดังนั้นปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ได้รับในแต่ละวันจะมีมากมายมหาศาล นักการตลาดจึงต้องพยายามอย่างมากเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พร้อมหาลูกเล่นใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการและดึงดูดความสนใจของประชากร Gen Z ให้ได้ อาทิ การเน้นใช้รูปภาพ อินโฟกราฟิก หรืออินเทอร์เน็ตมีม (Internet memes) ที่มีสีสันและดีไซน์สวยงาม เพราะเด็กรุ่นนี้เติบโตมากับการเล่นเกม ดูยูทูบ หรือรายการโทรทัศน์ ดังนั้นการจะดึงความสนใจของคนกลุ่มนี้จึงควรเน้นไปที่การใช้ภาพ เพื่อสื่อความและนำมาผสมผสานเข้ากับเนื้อหาทางการตลาด และด้วยความโด่งดังของ Social Channels อาทิ Vines, Snapchat และ Instagram ที่เปิดให้ผู้ใช้งานอัพโหลดคลิปสั้นๆ เพื่อแชร์กันในโลกออนไลน์ ทำให้ Gen Z ถือเป็นกลุ่มคนที่ดูคลิปวีดิโอมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ถึงเกือบ 2 เท่าดังนั้น การใช้คลิปวีดิโอสั้นๆ เพื่อเป็นสื่อทางการตลาดก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ การใช้ภาษาที่กระชับและตรงประเด็น ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะความสนใจของเด็กรุ่นนี้จะอยู่แค่ประมาณ 8 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่ได้รับควรสร้างแรงดึงดูดและสามารถเข้าใจง่ายตั้งแต่แรกเห็น ในขณะที่การใช้ “ดารา”มาเป็นพรีเซ็นเตอร์อาจจะไม่ส่งผลอีกต่อไป เพราะแบรนด์ควรใช้ Influencer ที่ให้ความรู้สึกเข้าถึงได้จริง หรือคนที่มีเครือข่ายของตัวเองเข้ามาแทนที่ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีชื่อเสียงขึ้นมาจากผู้ติดตามจำนวนมาก โดยเฉพาะทางช่องทาง social media ทำให้ข้อมูลจำพวก user-generated content จากกลุ่มคนเหล่านี้ ถูกมองว่าเชื่อถือได้มากกว่าในมุมของชาว Gen Z ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรกลุ่มนี้ จะชอบมากถ้าได้มีส่วนร่วมในการ Co-create กับแบรนด์ รวมถึงการร่วมคิด ร่วมสร้างเนื้อหา และร่วมสร้างสรรค์ไปพร้อมๆกับแบรนด์ ซึ่งใครที่สามารถดึงกลุ่มคนเหล่านี้มามีส่วนร่วมได้ ก็จะทำให้เข้าถึงเป้าหมายในภาพกว้างได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน สิ่งสำคัญที่สุดคือ แบรนด์ที่สร้างผลกระทบเชิงบวก จะได้รับความสนใจจากชาว Gen Z เพราะเด็กรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย (the Great Recession) ทำให้ประชากรกลุ่มนี้อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อสังคมมากกว่ารุ่นก่อน โดยเฉพาะการทำกิจกรรมเพื่อการกุศลและกิจกรรมที่สร้างผลดีต่อชุมชน ดังนั้นบริษัททั้งหลายจึงควรคำนึงถึงจุดนี้เช่นกันและสิ่งสุดท้ายที่ไม่ควรมองข้ามคือ ถึงแม้ว่านักการตลาดต้องการจะพลิกแพลงและหากลยุทธ์มามัดใจชาว Gen Z มากเท่าไร แต่ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าพวกเขาเหล่านี้ยังเป็นเพียงแค่ผู้เยาว์ ที่บางส่วนยังอายุไม่ถึง 13 ปีด้วยซ้ำ ดังนั้นแผนการตลาดที่เหมาะสมและตรงตามระเบียบข้อบังคับจึงเป็นสิ่งที่ยังละทิ้งไม่ได้ ถึงแม้ว่าเหล่านักการตลาดไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น แต่บางทีก็อาจจะถึงเวลาแล้วที่ต้องเริ่มคิดอย่างจริงจังว่าจะทำอย่างไรเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ให้อยู่หมัด เพราะในเวลานี้ ถ้าใครปรับตัวได้รวดเร็วกว่า ย่อมหมายความว่าส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน...

  • ‘ไม่โดนก็ดับ’แบรนด์รอดได้อย่างไรในโลกโซเชียลมีเดีย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โซเชียลมีเดีย” ยังคงถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่หลายๆ องค์กรไม่แน่ใจนักว่า จะนำมาใช้ให้เหมาะสมอย่างไร เอเยนซีจึงมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ลูกค้า นอกไปจากการให้คำปรึกษาเรื่องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ คำถามก็คือ เอเยนซีจะช่วยให้บริษัทเล่าเรื่องราวของตนเองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียอย่างจริงใจได้อย่างไร หากบริษัทต้องการจะสร้างคอนเทนท์ที่น่าสนใจ องค์กรต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับ“สื่อใหม่” ซึ่งนับเป็นเรื่องซับซ้อน โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นแบบ B2B แต่ในโลกยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคทุกคนล้วนแต่รับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะขายขนมขบเคี้ยว หรืออุปกรณ์การแพทย์ก็ตาม แม้ว่าวิธีการวัดผลทางธุรกิจที่ยังไม่แน่นอน ถือเป็นอุปสรรคของการบริหารโซเชียลมีเดีย แต่ปัญหาหลักจริงๆ แล้วอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร เพราะการสื่อสารกับผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย ต้องทำผ่านอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูลหนักๆ กรอบความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีอยู่ในบางองค์กร การมอบหมายให้คนภายนอกดูแลสื่อโซเชียล ไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมนัก บริษัทต้องมีบุคลากรภายในที่สามารถเลือกสรรแง่มุมและเล่าเรื่องราวขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเอเยนซีคอยให้คำปรึกษา หลายๆบริษัทพยายามควานหาผู้เชี่ยวชาญหนึ่งคนเข้ามาทำหน้าที่นี้ แต่พวกเขามักจะต้องพบกับสถานการณ์ที่คนอีกกลุ่มใหญ่ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งแรกที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรได้ก็คือ การช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าเราจะสร้างสรรค์เรื่องราวสำหรับโซเชียลมีเดียได้อย่างไร พวกเขาต้องหาทางพูดถึงจุดเด่นของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ โดยที่แบรนด์ไม่ได้เป็นจุดเด่น แต่อยู่รอบๆ เรื่องราวเหล่านั้น ผู้บริหารต้องเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคจะรับรู้ว่า นี่คือแบรนด์ของบริษัท แม้ว่าจะไม่ได้มีโลโก้ปะอยู่ก็ตาม จากนั้น ผู้บริหารต้องพยายามมองผ่านมุมของผู้บริโภค เช่น พวกเขาคิดอะไรเวลาที่พวกเขายืนต่อแถวในซูเปอร์มาร์เก็ตและเปิดเฟซบุ๊คไปด้วย แล้วเวลาดูฟุตบอลทางทีวี สิ่งใดบ้างที่จะสะดุดตาพวกเขา ที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย คู่แข่งของพวกเขาไม่ใช่แบรนด์อื่น แต่เป็นรูปลูกแมวและรูปงานแต่งงานของดาราที่อยู่รอบๆ พวกเขากำลังแข่งกับสิ่งอื่นๆทั้งหมดในโซเชียลมีเดียต่างหาก หลังจากนั้น จึงเริ่มคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่จะนำเสนอ ค่านิยมของบริษัทคืออะไร ใครคือกลุ่มเป้าหมาย พวกเขาเหล่านั้นมีความสนใจอะไร และเราจะสร้างคอนเทนท์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เป็นเรื่องน่าเสียดายที่บริษัทขนาดใหญ่ ประเด็นในการเล่าเรื่องมักจะถูกปรับแก้ให้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ซีอีโอ แผนกบุคคล และแผนกกฎหมาย แต่หากทุกๆคนได้รับอำนาจในการปรับคอนเทนท์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตน คอนเทนท์ ก็จะเป็นเรื่องราวเรียบๆ ที่ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้อ่านได้เท่าๆ กับโพสต์ของบล็อกเกอร์ที่เล่าเรื่องราวตลกๆของตนเอง ท้ายที่สุดแล้ว ถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่ต้องเปิดพื้นที่ให้กับการเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ อิสรภาพทางความคิดก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย และทำให้คอนเทนท์ ที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ การซื้อยอดวิวเป็นเรื่องง่าย แต่แบรนด์ไม่สามารถใช้เงินซื้อให้คนกดไลค์ หากเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตของพวกเขาอย่างแท้จริง ติดตามบทความนี้บนเว็ปไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้ทาง http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640592...

  • Thailand’s Citizen Journalists

    As much as anywhere in the world, Thailand is filled with social media addicts—but out of necessity in Thailand’s case. Bangkok, the site of much of the political unrest of recent months, is home to one of the largest Facebook populations in the world, with 90 percent of those in the city using the channel to communicate. Its 7.5 million users place it fifth among rankings by Czech social media monitor Social Bakers. Bangkok also is among the most instagrammed cities on the planet. The Wall Street Journal recently ran an article about the “selfies,” or self-portraits, protesters were snapping with their smartphones as they participated in recent anti-government demonstrations. Whether at the demonstrations or at home, the Thai people have decided to depend on each other for the latest news. The decision is probably not surprising, given that recent rankings of press freedom by nation place Thailand toward the bottom of the list, where it has sat for more than five years. With many of the TV stations state-owned or belonging to one side of the political divide, there is a real concern that there is no source of unbiased news, and as that lack of trust has risen so too has the use of social media. On Dec. 1, 2013, the 7.5 million tweets in Thai were posted in just 24 hours; that’s getting close to one for every person living in the city of Bangkok. It is not a coincidence that the tweets were sent on a day of massive political protests on the streets of Bangkok. Thai people check their Facebook page instead of turning on a television for morning reports. So what does a world of citizen journalists mean? On a positive note, it has meant that the Thai people are increasingly well-informed and engaged in what is happening in and to their government. Popular social platforms have created a medium for public debate that previously didn’t exist. These are all developments that encourage the growth and strength of democracy and must be supported. Sadly, however, it doesn’t necessarily mean more accurate journalism, as these are untrained broadcasters. They publish what they think they see or what their friends have told them. Frequently, the social media channels are clogged with as much rumor as fact. Of late, I’ve seen some people start using Facebook as a channel to urge their friends to be calm and to “think before posting.” Just as the traditional media has learned over the centuries of their existence, our citizen journalists are finding out that reporting news is not only a right; it is a responsibility...

  • PR Love Volution 2016 with Sophis Kasemsahasin, Senior Vice President, Partner and General Manager FleishmanHillard Thailand

    FleishmanHillard Thailand led by Sophis Kasemsahasin Senior Vice President, Partner and General Manager, recently attended “PR Lovevolution 2016” Seminar which has been conducted by the Bangkok University for inviting PR professionals in various industries to update information and explore the new ideas about public relations at Windsor Suites Hotel Bangkok.        “Public relations are not only the communication tool, but also the chance   to open up new opportunities. Nowadays there has been significantly changed from traditional channels to digital platform. It’s caused to media landscape transformation and all the businesses cannot communicate by using only traditional channels. Due to the consumer’s behavior, most of people prefer to consume the content through their devices including smart phone, iPhone and iPad. According to the recent survey, there are approximately 20 million facebook users in Thailand and more than 100 million in global. People spend time for playing facebook in an average 3.7 hour per day. Thus, the ‘Internet of Things’ is becoming an increasingly growing topic of conversation both in the workplace and outside of it. On top of this, ‘Big data’ is also important. FleishmanHillard has set up the research analytic team to provide solution in term of content analytic for client so that they can convey the appropriate message and develop communication plan effectively.” Sophis Kasemsahasin Senior Vice President and General Manager, FleishmanHillard Thailand said. The Trends and Directions of Public Relations Industry Experience is driven by Innovation: communicators should select the media and bring the new way of communication to response consumer’s behavior. Disruption: communicators should think outside of the box and brand with the purpose would be considered. You have to identify, embrace, embody, and articulate a brand purpose that inspires your audience to connect with you. Experience: technology always drives and brings new experience to consumers; such as online shopping. Journey: communicators should observe and learn about consumer’s journey to receive the insight and leverage the feedback of consumer experience to improve the communication. What are the communication implications? Authenticity: communicators should build the brand journalist and go beyond to communicate not only ‘I say’ message. Reputation: creating content to map with brand purpose and image. Shared Value: building the creative storyline to add the impact and value for sharing Transparency & Earned Trust: delivering message with the transparency and credibility to earn trust among consumers Humanity: creating shared value to enhance the sustainability. The Social ‘CEO’: A Social CEO is a chief executive who adroitly uses social media to check the pulse of the organization and channel the energy of the staff. CEO can convey company messages or updated news directly through their social media and this is another digital platform that CEO utilizes to present brand image. Crisis management: there has been a major paradigm shift in the way crises break in today’s digital age. It is not just about managing your reputation in traditional media sources. It is also about managing and monitoring rigorously on social media accounts, websites and platforms to understand the social dialogue around your brand in order to prevent any crisis before it happens. New way of PR: Creativity Channel Diversity Earned trust & Reputation Conversation Conversion Organic engagement Measure change Business & society outcome...

  • งานสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “PR Love Volution 2016” โดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไปบริษัทเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย

    เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย นำโดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไป เข้าร่วมงานสัมมนา “PR Lovevolution 2016” จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประชาสัมพันธ์ในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และอัพเดทข้อมูลข่าวสาร รวมถึงนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท โฮเทล กรุงเทพเมื่อเร็วๆนี้ คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์นั้นไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสาร หากยังเป็นหนทางอันดีที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนผ่านการสื่อสารที่สำคัญจากช่องทางแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มแบบดิจิตอล เป็นเหตุให้ภาพรวมของสื่อแต่ละแขนงเกิดการเปลี่ยนแปลงและธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถสื่อสารโดยใช้เพียงแค่ช่องทางแบบดั้งเดิมอีกต่อไป สืบเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภค คนจำนวนมากมักจะบริโภคสื่อผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารส่วนตัวของพวกเขา อาทิ สมาร์ทโฟน ไอโฟน ไอแพด เป็นต้น ซึ่งมีข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กประมาณ 20 ล้านคน และมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ผู้คนใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กเฉลี่ย 3.7 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น เทรนด์ในส่วนของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ หรือ Internet of Things จึงกลายเป็นหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นทั้งในและนอกที่ทำงาน อย่างไรก็ตามในส่วนของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เฟลชแมนฮิลลาร์ดได้ตั้งทีมวิเคราะห์และวิจัยข้อมูล เพื่อที่จะสามารถแนะนำโซลูชั่นด้านการวิเคราะห์เนื้อหาให้กับลูกค้า ทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารโดยใช้ข้อความที่เหมาะสมและพัฒนาแผนการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ ประสบการณ์ต่างๆถูกขับเคลื่อนโดย นวัตกรรม (Innovation): นักสื่อสารควรเลือกสื่อและนำวิธีการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค การสอดแทรกแนวความคิดใหม่ๆ(Disruption) : นักสื่อสารควรคิดนอกกรอบและสร้างแนวทางที่แตกต่างให้แก่แบรนด์ ซึ่งควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลักโดยจะต้องทำความเข้าใจ,เข้าถึง ,รวบรวมข้อมูล และร้อยเรียงวัตถุประสงค์ของแบรนด์ให้เกิดเป็นเรื่องราว ที่จะทำให้ผู้รับสารของคุณสารมารถเข้าถึงตัวตนของแบรนด์ได้ ประสบการณ์(Experience): เทคโนโลยีนั้นคอยขับเคลื่อนและนำประสบการณ์ใหม่ๆมาสู่ผู้บริโภคอยู่เสมอ เช่น การซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นต้น กระบวนการตัดสินใจซื้อ(Journey) : นักสื่อสารควรสังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะได้รู้ข้อมูลเชิงลึกและใช้ประโยชน์จากผลตอบรับจากประสบการณ์ของผู้บริโภคในการพัฒนาการสื่อสาร อะไรคือความหมายของการสื่อสาร? ความแท้จริง (Authenticity): นักสื่อสารควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพื่อให้บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะเป็นผู้ส่งสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แทนการสื่อสารทั่วไปที่แบรนด์เป็นผู้ส่งสาร โดยยกระดับให้เปลี่ยนไปจากการสื่อสารรูปแบบเดิมไม่ได้เป็นเพียงแค่การส่งสารจากแบรนด์ หรือ ‘I say’ เท่านั้น ชื่อเสียง (Reputation): สร้างสรรค์เนื้อหาให้เข้ากับวัตถุประสงค์และภาพลักษณ์ของแบรนด์ คุณค่าของเนื้อหาที่ได้รับการส่งต่อ (Shared Value): พัฒนาเค้าโครงเรื่องให้มีความสร้างสรรค์เพื่อที่จะเพิ่มผลลัพธ์ที่ทรงพลังและคุณค่าสำหรับการส่งต่อเนื้อหาในวงกว้าง ความโปร่งใสและการได้รับความเชื่อมั่น (Transparency & Earned Trust) : ส่งสารด้วยความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้มาซึ่งความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภค การให้ความสำคัญกับคุณค่าของคน (Humanity): การสร้างค่านิยมร่วมเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืน บทบาทของผู้บริหารระดับสูงกับโซเชียลมีเดีย (The Social ‘CEO’): ช่องทางการสื่อสารอันทรงพลังที่ใช้สื่อสารโดยผู้บริหารระดับสูงสามารถถ่ายทอดสารต่างๆขององค์กรหรืออัพเดทข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพวกเขาได้โดยตรง นับเป็นอีกหนึ่งดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ผู้บริหารระดับสูงนำมาใช้เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์ การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) :เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่สำคัญในส่วนของวิธีการรับมือกับภาวะวิกฤตในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการจัดการกับชื่อเสียงของคุณผ่านสื่อแบบดั้งเดิม แต่ยังเกี่ยวกับการจัดการและการตรวจสอบอย่างรอบคอบในโซเชียลมีเดีย ทั้งบัญชีผู้ใช้งาน เว็บไซต์ ตลอดจนแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งที่สังคมพูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะวิกฤตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาค แนวทางใหม่สำหรับการประชาสัมพันธ์ : ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) ช่องทางที่หลากหลาย (Channel Diversity) การสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ (Earn Trust & Reputation) การสนทนา (Conversation) การปรับใช้ (Conversion) การสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริง ( Organic Engagement) วัดผลการเปลี่ยนแปลง (Measure Change) ผลลัพธ์ทางธุรกิจและสังคม (Business Outcome & Society...

  • FleishmanHillard Strengthens Global Crisis Communications Practice in Thailand with the Expansion of FH 2020

    BANGKOK, September 24, 2015 – FleishmanHillard Inc., the world’s most complete global communications firm, today announced the expansion of its crisis communications practice with the deployment of FH 2020, a digital media crisis management solution offered in all locations needed by clients and in the areas most effective for them. FH 2020 enables businesses to prepare, anticipate, detect and mitigate crises in real-time through a strategic combination of people, processes and technologies. The estimated number of 3 billion internet users[1]  by the end of 2015 shows the rapid expansion of digital and social media as well as the proliferation of smartphone adoption in APAC regions. Looking at this growth, businesses today are faced with a different set of challenges – building and protecting reputation while moving at the speed of social with a paradigm shift from channel centered to integrated communications. Key trends today: Content is king. Social content is not just interesting or relevant, but truly intelligent. Intelligent content builds authority. It drives engagement, conversations and can bring a human element to communications. Intelligent content moves the needle. Content creation that can reach out to the right audience, with the right content, at the right time which results in right relationships and conversations in the long term. “There has been a major paradigm shift in the way crises break in today’s digital age. It is no longer just about ma naging your reputation in traditional media sources. It is also about managing and monitoring countless social media accounts, websites, platforms and forums to understand the social dialogue around your brand in order to prevent any crisis before it happens. And this poses a serious challenge to many businesses who are not accustomed to managing such a vast and extensive source of information,” Sophis Kasemsahasin Senior Vice President and General Manager, FleishmanHillard Thailand said. In addition to monitoring and understanding the ever changing traditional media landscape, crisis today is exacerbated by social media. Getting the right content in front of the right people at the right time is the key to managing relationship with consumers. With an efficient practice, an organization can drive brand preference, improve thought Leadership, generate leads, and create brand advocacy. FleishmanHillard practice starts from 1) listen and learn about the online conversation 2) plan 3) create the content 4) amplify through 360-degree integrated communications and 5) manage real-time customer engagement. Designed as a digital media crisis management platform, FH 2020 comprises a distributed network of trained analysts based in key markets across the globe. These analysts work together to provide real-time, global, multi-lingual data, integrated with a collaborative work space and a real-time content creation and distribution system. In a crisis, FH 2020 can be set up within minutes, providing critical real-time data and business intelligence to put insights into the hands of key decision makers: People – With a physical presence in 12 time zones and covering more than 20 languages, the FH 2020 network of more than 150 certified crisis counselors ensures that FleishmanHillard can address local, regional and global crises immediately and on an on-going basis. Process – FH 2020 uses proven and tested approaches for onboarding, threat assessment and anticipation, reporting, and deploying the most effective mitigation and response tactics across our network. Tools – FH 2020 uses best-in-class tools for monitoring traditional and social media, running crisis simulations, and establishing command centers, and can easily work within a client’s existing technology infrastructure. As an all-encompassing digital crisis solution, FH 2020 will enable businesses with the ability to sift through the social clutter to anticipate threats before they happen and deploy the most...

  • เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เปิดตัว FH 2020 นวัตกรรมและกลยุทธ์การบริหารสื่อสังคมออนไลน์ในภาวะวิกฤติ

    กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2558 – เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เอเจนซี่ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ครบวงจรระดับโลก ประกาศเปิดการให้บริการด้านการสื่อสาร โดยใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีผสานกับกลยุทธ์การสื่อสาร ที่เรียกว่า FH 2020 (เอฟเอช ทเวนตี้ทเวนตี้) เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาวะฉุกเฉินและวิกฤติบนโลกดิจิตอลและออนไลน์ พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าในภาคธุรกิจต่างๆ  ด้วยการเตรียมความพร้อม คาดคะเน ตรวจสอบ และบรรเทาวิกฤติตามเวลาจริง (Real-time crisis management) ผสานกับกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยบุคคลากร กระบวนการ และเครื่องมือเฉพาะพิเศษ ภายในสิ้นปี 2015 มีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถึงเกือบครึ่งของประชากรโลกหรือประมาณ 3 พันล้านคน[1] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวอันรวดเร็วของสื่อสังคมดิจิตอล รวมไปถึงแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลไปถึงความท้าทายทางธุรกิจในการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค การสั่งสมและปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์ ขณะเดียวกัน ยังต้องตามติดกระแสบนสื่อออนไลน์ที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งทำให้ช่องทางการสื่อสารถูกรวมเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นเพียงช่องทางใดช่องทางหนึ่งอีกต่อไป เทรนด์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ที่น่าจับตามอง ได้แก่: เป็นยุคที่เนื้อหามีบทบาทสำคัญ เนื้อหาไม่ใช่แค่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ต้องมีข้อมูลจำเพาะ ซึ่งข้อมูลจำเพาะเหล่านั้นจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ก่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค การจับคู่เนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคในเวลาที่เหมาะสมจะสร้างสายสัมพันธ์และบทสนทนาที่ต่อยอดสู่ภาพลักษณ์และธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ “ในยุคดิจิตอลและกระแสของสื่อสังคมออนไลน์  วิถีการสื่อสารและการสานสัมพันธ์กับผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก ซื่งไม่ใช่เพียงแค่การจัดการกับชื่อเสียงบนสื่อที่มีมาดั้งเดิมอีกต่อไป แต่เป็นการจัดการและติดตามเนื้อหาบทสนทนาบนสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ กระทู้ ผ่านบัญชีชื่อผู้เข้าใช้ที่นับไม่ถ้วน แบรนด์ต้องสามารถเข้าถึงและเข้าใจบทสนทนาของผู้บริโภคได้อย่างถ่องแท้ สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาซึ่งมีข้อมูลจำเพาะที่ตรงใจผู้บริโภคเพื่อป้องกันวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้น และรับมือกับข้อมูลจำนวนมากที่ประดังเข้ามาเมื่อเกิดวิกฤติขึ้น นี่คือความท้าทายขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยกับการจัดการและรับมือกับผู้บริโภคในบริบทใหม่นี้” โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าว การส่งต่อเนื้อหาให้เข้ากับความสนใจของผู้บริโภคในเวลาที่เหมาะสมถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค หากองค์กรมีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพก็จะสามารถทำให้เกิดบทสนทนาในเชิงบวก แสดงถึงความเป็นผู้นำเทรนด์ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยง และการสนับสนุนแบรนด์ในกลุ่มผู้บริโภคได้ กระบวนการของ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เริ่มต้นจาก 1) ติดตามและทำความเข้าใจบทสนทนา 2) วางกลยุทธ์ 3) ผลิตเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว 4) ขยายผลผ่านการสื่อสารแบบบูรณาการ และ 5) รับมือการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคตามเวลาจริง บริการเพื่อบริหารจัดการบทสนทนาของผู้บริโภคและรับมือกับวิกฤติบนโลกดิจิตอลและออนไลน์ หรือ FH 2020 ของ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เป็นกระบวนการแบบบูรณาการที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีผสานกับกลยุทธ์ด้านการสื่อสาร ประกอบด้วยเครือข่ายนักวิเคราะห์ที่ได้รับการฝึกอบรม และทำงานร่วมกันในทุกมุมโลก เพื่อให้ข้อมูล สร้างและส่งต่อเนื้อหาและสร้างบทสนทนาในภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง  ห้วงเวลาที่ต่างกันในภูมิภาคต่างๆ ในช่วงเวลาวิกฤติและฉุกเฉิน ทีมของ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด สามารถทำการติดตั้งบริการได้ภายในเวลาอันสั้น พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อส่งต่อไปถึงมือของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ทันที ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่: บุคคลากร – ที่ปรึกษาด้านการบริหารภาวะฉุกเฉินและวิกฤติซึ่งได้รับการอบรมและรับรองกว่า 150 คน บนเครือข่ายของ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด นั้นครอบคลุมถึง 12 โซนเวลาและให้บริการได้มากกว่า 20 ภาษา ทำให้เฟลชแมน ฮิลลาร์ด สามารถจัดการวิกฤติในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และ ระดับโลก ได้ทันท่วงทีและต่อเนื่อง กระบวนการ – FH 2020 มีวิธีการดำเนินงาน การประเมินภัยคุกคามและความคาดหวังจากสาธารณชน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การรายงาน และการบริหารภาพลักษณ์และธุรกิจให้กลับสู่ภาวะปกติที่ได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพการตอบสนองสูงสุดผ่านการปฏิบัติงานบนกรณีที่เกิดขึ้นจริงของลูกค้าและแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก เครื่องมือ – FH 2020 ใช้เครื่องมือที่ดีที่สุดในการติดตามสื่อทั้งแบบดั้งเดิมและสื่อสังคมออนไลน์ จำลองวิกฤตการณ์ ตั้งศูนย์บัญชาการ และสามารถทำงานได้อย่างง่ายดายภายใต้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วของลูกค้า FH 2020 ในฐานะที่เป็นโซลูชั่นด้านการบริหารวิกฤติบนสื่อดิจิตอลและออนไลน์อย่างครบวงจร จะช่วยติดอาวุธให้องค์กรสามารถพลิกสถานการณ์ผ่านความวุ่นวายสับสน และความไม่แน่นอนของสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสามารถทำให้แบรนด์คาดการณ์ต่อประเด็นสาธารณที่อาจจะคุกคามต่อภาพลักษณ์และธุรกิจ และสามารถปรับใช้กลยุทธเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเกิดวิกฤติขึ้น FH2020 จึงได้ถูกนำไปใช้ในองค์กรของลูกค้ามาแล้วกว่า 20 แห่ง ในมากกว่า 12 ภาษาทั่วโลก การบริการนี้ยังสามารถปรับขนาดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับวิกฤตการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงแรงงานสัมพันธ์และช่วยเหลือในด้านการฟ้องร้องดำเนินคดีต่างๆ อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FleishmanHillard Crisis Overview video...

  • FleishmanHillard Bangkok holds media interview on “Five paradigm shifts in crisis management and a way forward to AEC competition”

    BANGKOK, October 15, 2014 — Companies are facing the perfect tsunami when crisis hits in today’s hyper-connected, always-on social media world. When normal business is suddenly interrupted, a company can find itself unprepared and unable to rapidly gather and assess the necessary information to understand what has happened and what they should do to respond. Then a wall of intense scrutiny - from the community, media and government, questioning, rumors and speculation online, and often outrage - crashes over the company and its management team, threatening to quickly drown them before they can even contemplate launching the lifeboats. FleishmanHillard Bangkok office has arranged a media interview “Five paradigm shifts in crisis management and a way forward to AEC competition”, invited journalists of business section in newspaper and website to participate. The interview has delivered by Crisis communication expert from the world’s most complete global communications firm, Brian West, Managing Director, Reputation Management, Asia Pacific and Global Lead – Crisis Management. He explained that there have been five paradigm shifts in crisis communication management in the past five years, which are: The need for speed of response in this always on, wired world The threat posed by the internet and social media The opportunity presented by social media – companies are moving to create their own newsrooms The need to empower frontline staff – the first responders in a crisis. Centralised command and control crisis centers are relics of a past era; and The need for companies to shorten their chain of command in a crisis. Sophis Kasemsahasin, Senior Vice President & General Manager, FleishmanHillard Thailand added that “the Thai companies moving forward to the AEC, should prepare crisis management plan in respond to the five paradigm shifts. Cross cultural barriers can increase the risk. Crises no longer break, they tweet and within 30 seconds. Many companies are now only just starting to think about having 24/7 social listening tools, but they need to think of planning and building infrastructure allowing them to respond immediately across all communication platforms and channels, different languages, and across cultural barriers.”...