ความสำเร็จ

Year: 2014

  • FleishmanHillard Bangkok holds media interview on “Five paradigm shifts in crisis management and a way forward to AEC competition”

    BANGKOK, October 15, 2014 — Companies are facing the perfect tsunami when crisis hits in today’s hyper-connected, always-on social media world. When normal business is suddenly interrupted, a company can find itself unprepared and unable to rapidly gather and assess the necessary information to understand what has happened and what they should do to respond. Then a wall of intense scrutiny - from the community, media and government, questioning, rumors and speculation online, and often outrage - crashes over the company and its management team, threatening to quickly drown them before they can even contemplate launching the lifeboats. FleishmanHillard Bangkok office has arranged a media interview “Five paradigm shifts in crisis management and a way forward to AEC competition”, invited journalists of business section in newspaper and website to participate. The interview has delivered by Crisis communication expert from the world’s most complete global communications firm, Brian West, Managing Director, Reputation Management, Asia Pacific and Global Lead – Crisis Management. He explained that there have been five paradigm shifts in crisis communication management in the past five years, which are: The need for speed of response in this always on, wired world The threat posed by the internet and social media The opportunity presented by social media – companies are moving to create their own newsrooms The need to empower frontline staff – the first responders in a crisis. Centralised command and control crisis centers are relics of a past era; and The need for companies to shorten their chain of command in a crisis. Sophis Kasemsahasin, Senior Vice President & General Manager, FleishmanHillard Thailand added that “the Thai companies moving forward to the AEC, should prepare crisis management plan in respond to the five paradigm shifts. Cross cultural barriers can increase the risk. Crises no longer break, they tweet and within 30 seconds. Many companies are now only just starting to think about having 24/7 social listening tools, but they need to think of planning and building infrastructure allowing them to respond immediately across all communication platforms and channels, different languages, and across cultural barriers.”...

  • เฟลชแมน ฮิลลาร์ดแนะองค์กรปรับแผนบริหารจัดการภาวะวิกฤต พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงจากโซเชียลมีเดีย และก้าวสู่ AEC อย่างมั่นคง

    กรุงเทพฯ, 15 ตุลาคม 2557 --- ภาครัฐและบริษัทเอกชนหลากหลายองค์กร กำลังเผชิญกับวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการโพสต์และแชร์ข้อมูลในโลกโซเชียลมีเดีย ช่องทางที่เชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับสังคมวงกว้างที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงพื้นที่จังหวัดหรือประเทศ แต่ขยายวงสู่นานาประเทศได้ในระยะเวลาเพียงวินาที ธุรกิจหลากหลายธุรกิจและการดำเนินงานมากมายต้องหยุด ฉะงัก เสียหาย หรือหมดความน่าเชื่อถือ เพราะคำถามและข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันในช่องทางโซเชียลมีเดีย บริษัทและองค์กรต้องมีการรับมือที่ดีเพื่อทำความเข้าใจ แก้ไขข้อมูล หรือตอบคำถามชี้แจงสังคมได้ ก่อนที่บริษัทจะได้รับความเสียหายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ไบรอัน เวส กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารภาพลักษณ์ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคผู้เชี่ยวชาญวางแผนการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตให้กับลูกค้าทั่วโลกของเฟลชแมน ฮิลลาร์ด บริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารครบวงจรระดับโลก บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากมีการใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ซึ่งองค์กรและแบรนด์ต่างๆ จะต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือก่อนเกิดภาวะวิกฤตในองค์กรของตน สรุปได้ 5 ข้อดังนี้ ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการตอบสนองในเรื่องต่างๆ ในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันทุกวันนี้ อุปสรรคที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย โอกาสที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้บริษัทมีช่องทางสื่อสร้างแจ้งข่าวเป็นของตัวเอง พนักงานแนวหน้า ต้องมีความสามารถรับมือหรือตอบคำถามในภาวะวิกฤต การควบคุมวิกฤตการณ์จากส่วนกลางกลายเป็นอดีตไปแล้ว องค์กรจำเป็นต้องลดขั้นตอนการตัดสินใจและการสั่งการลงในช่วงภาวะวิกฤต ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในเอเชียมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมียอดสูงเป็นอันดับต้นของโลก ประกอบกับการใช้สมาร์ทโฟนที่แพร่หลายในเอเชีย ทำให้องค์กรในเอเชียนี้ต้องเตรียมพร้อมรับมือเป็นอย่างดี ตัวอย่างของอุปสรรคและโอกาสที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย สามารถเห็นได้จากกรณีการประท้วงในฮ่องกงในขณะนี้ ขณะที่รัฐบาลพยายามปิดช่องทางการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันการสื่อสารและเผยแพร่ข้อความและภาพประท้วงต่างๆ รวมทั้งเว็บไซด์โซเชียลมีเดียชื่อดังในจีน เวยโป๋(Weibo.com) แต่ผู้นำการประท้วงในฮ่องกงยังสามารถหาสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างเช่น แอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ไฟร์แชท (FireChat) และเทเลแกรมเมสเซนเจอร์ (Telegram Messenger) มาเป็นช่องทางสื่อสารในกลุ่มผู้ประท้วงได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์กรอีกไม่น้อยที่ขาดความตระหนักถึงอุปสรรคจากโซเชียลมีเดีย ที่สามารถเกิดขึ้นกับองค์กรของตนเองได้ หรือแม้แต่การมองเห็นโอกาสในการใช้โซเชียลมีเดียสื่อสาร เพื่อพลิกให้องค์กรของตนเอง มาเป็นฝ่ายควบคุมสถานการณ์ สื่อสารสู่สาธารณชน และแสดงออกถึงความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ จากการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การรับมือที่ดีและทันถ่วงทีไม่เพียงแต่จะทำให้องค์กรรอดพ้นจากวิกฤต แต่ยังจะช่วยสร้างชื่อเสียงและเพิ่มความไว้วางใจให้กับองค์กรหรือแบรนด์ และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำขององค์กรและแบรนด์อีกด้วย จึงเรียกได้ว่า เวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวให้กับองค์กร ดังนั้นวิธีการควบคุมและขั้นตอนการตัดสินใจแบบดั้งเดิม ที่มีผู้ตัดสินใจอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งอาจอยู่ในโซนเวลาที่แตกต่างกัน ประกอบกับการปรึกษาหารือกับหน่วยงานจำนวนมากเพื่อนำไปสู่การพิจารณา จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน องค์กรหรือแบรนด์ จะต้องทำงานแข่งกับเวลา การสื่อสารในยุคโซเชียลมีเดียจำต้องลดสายการบังคับบัญชาลงผู้บังคับบัญชาในสายปฏิบัติการหรือในพื้นที่นั้นๆ ต้องสามารถรับมือจัดการกับภาวะวิกฤตได้ รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสาร และควรเป็นบุคลากรที่อยู่ใกล้กับข้อเท็จจริงมากที่สุด ที่สำคัญต้องมีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การจัดการในภาวะวิกฤตที่พร้อมรับมือกับอุปสรรคและโอกาสที่เกิดขึ้นในยุคโซเชียลมีเดียทุกวันนี้ โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปเฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทยเพิ่มเติมว่า “จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้ง 5 ข้อ บริษัทในประเทศไทยควรมีการจัดทำแผนการจัดการในภาวะวิกฤตที่ดี โดยเฉพาะในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC แม้ว่าทั้ง 10 ประเทศสมาชิก AEC จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ภาษา วัฒนธรรม และความเชื่ออาจแตกต่างกันและเป็นตัวแปรให้เกิดการรับมือที่ผิดพลาดได้ เพราะวิกฤติเกิดขึ้นและส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว บริษัทและแบรนด์จึงไม่ควรเสี่ยง แม้ในปัจจุบันเริ่มมีหลายองค์กรจัดตั้งทีมงานเพื่อติดตามข่าวสารของตนเองในโซเชียลมีเดีย แต่ต้องวางแผนเพิ่มและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการการรับมือกับวิกฤติได้อย่างดีและทันถ่วงที”...