ความสำเร็จ

Uncategorized @th

  • 5 วัคซีนการสื่อสารในภาวะวิกฤติ สู้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโคโรนาไวรัส (COVID-19)

    วันนี้ เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย (FleishmanHillard Thailand) จะมาแนะนำ 5 วัคซีน การสื่อสารในภาวะวิกฤติ สำหรับผู้บริหารและองค์กร ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้แก่ วัคซีนที่ 1 ‘ดูแลทุกคนในองค์กร’ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ หรือแม้แต่ชุมชนใกล้เคียงที่บริษัทดำเนินการในพื้นที่นั้น ๆ ให้ทั่วถึง ซึ่งการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อองค์กร ที่หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องเข้าใจถึงความพลิกผันของสถานการณ์ ที่อาจสร้างความขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่าง ฯลฯ วัคซีนที่ 2 ‘รับฟัง’ และเตรียมพร้อมในการสื่อสารกับหน่วยงานนอกองค์กร ซึ่งผู้บริหารและองค์กรต่างต้องเข้าใจและพร้อมเผชิญกับความจริง เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคภายในองค์กร พร้อมทำการสื่อสารโดยอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องจากองค์กรที่เชี่ยวชาญต่อเรื่องการระบาดวิทยา และการจัดการเรื่องสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชน อย่าง องค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงสาธารณสุข กรมความคุมโรค เป็นต้น วัคซีนที่ 3 ‘ตัดสินใจ’ และสื่อสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ ด้วยสถานการณ์ที่บีบบังคับให้องค์กรต้องเผชิญความเสี่ยงและความกดดันต่าง ๆ ผู้บริหารและองค์กรต้องใช้หลักการของมนุษยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมาในการชี้นำการตัดสินใจในการบริหารความเสี่ยงและการสื่อสารในภาวะวิกฤติที่คับขันเช่นนี้ วัคซีนที่ 4 ‘ยอมรับ’ และตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวและชัดเจน แม้ว่าในขณะนั้นอาจะไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์แบบทั้งหมดในมือ ซึ่งในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เรามักจะได้รับข้อมูลความสารที่ไม่ครบถ้วน ข่าวลือ หรือแม้แต่ข่าวปลอม ที่ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วในสื่อสังคมออนไลน์ จึงไม่ควรรีรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนจึงจะสื่อสารเพื่อปิดช่องโหว่ และปิดโอกาสที่บุคคลอื่นฉกฉวยการสื่อสารข้อมูลเท็จ ที่บิดเบือนและสร้างความสับสนได้ วัคซีนที่ 5 ‘เปิดใจ’ ต่อความแตกต่าง และความขัดแย้ง ซึ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 เช่นนี้ ขอแนะนำให้การบริหารการสื่อสารบนพื้นฐานของการประสานความร่วมมือในทุกภาคส่วน รัดกุมในการออกแบบและเลือกใช้ถ้อยคำในการสื่อสารที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวก และมีความชัดเจนเพื่อป้องกันความคลุมเครือทางการสื่อสารที่สามารถตีและสร้างความแตกแยกได้...

  • เฟลชแมนฮิลลาร์ด เผยมุมมองมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 กับอนาคตที่ไปไกลกว่าการยึดติดกับ “แบรนด์”

    19 ตุลาคม 2561 -- เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ผู้นำด้านประชาสัมพันธ์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งระดับโลก เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดด้านความเชื่อ ทัศนคติ และมุมมองต่อสังคม ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการบริโภคของมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 ชี้ คนหนุ่มสาวยุคใหม่มีนิยามของความสำเร็จและความสุขที่ต่างออกไป แสวงหาความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และไม่ยึดติดกับแบรนด์ แม้ “เงิน” จะสำคัญ แต่ “ความสุข” นั้น สำคัญกว่า                                   ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 70% ยอมรับว่าเงินคือตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุด และอีกกว่า87% ยังเผยว่ารู้สึกดีที่ได้ใช้จ่ายเพื่อปรนเปรอตนเอง แต่พวกเขากลับบอกว่าแม้ว่า “เงิน” จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่พวกเขาก็มีความชัดเจนกับความต้องการของตัวเองมากพอที่จะไม่มองว่าเงินสำคัญมากไปกว่าความสุขในชีวิต นอกจากนี้ พวกเขายังให้ความเห็นต่อนิยามของความสุขว่าคือการมีสุขภาพที่ดี (67%) และการมีเวลาให้กับตัวเองและความมีอิสระในการใช้ชีวิต (67%) ขณะที่สัดส่วนของมนุษย์มิลเลนเนียลที่ให้ความสำคัญกับการออมเงินมีประมาณ 55% ยอมเปย์เท่าไหร่ก็ได้ หากแบรนด์เข้าใจตัวตนของฉัน                                  ...

  • กลยุทธ์ด้านการตลาด จับทางผู้บริโภค Gen Z

    ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันและการส่งผ่านสู่ เจเนอเรชั่นใหม่ที่เรียกตัวเองว่า Generation Z กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2538-2553 ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามปรับตัวให้เท่าทันกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด เพราะเป็นมีกำลังซื้อมากและเป็นวัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้นการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่ง เนื่องด้วยช่วงวัยนี้ เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อม Digital และ Social Media ที่หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือประชากรในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มาใช้เวลาอยู่กับ“หน้าจอ”เป็นส่วนมาก ดังนั้นปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ได้รับในแต่ละวันจะมีมากมายมหาศาล นักการตลาดจึงต้องพยายามอย่างมากเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พร้อมหาลูกเล่นใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการและดึงดูดความสนใจของประชากร Gen Z ให้ได้ อาทิ การเน้นใช้รูปภาพ อินโฟกราฟิก หรืออินเทอร์เน็ตมีม (Internet memes) ที่มีสีสันและดีไซน์สวยงาม เพราะเด็กรุ่นนี้เติบโตมากับการเล่นเกม ดูยูทูบ หรือรายการโทรทัศน์ ดังนั้นการจะดึงความสนใจของคนกลุ่มนี้จึงควรเน้นไปที่การใช้ภาพ เพื่อสื่อความและนำมาผสมผสานเข้ากับเนื้อหาทางการตลาด และด้วยความโด่งดังของ Social Channels อาทิ Vines, Snapchat และ Instagram ที่เปิดให้ผู้ใช้งานอัพโหลดคลิปสั้นๆ เพื่อแชร์กันในโลกออนไลน์ ทำให้ Gen Z ถือเป็นกลุ่มคนที่ดูคลิปวีดิโอมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ถึงเกือบ 2 เท่าดังนั้น การใช้คลิปวีดิโอสั้นๆ เพื่อเป็นสื่อทางการตลาดก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ การใช้ภาษาที่กระชับและตรงประเด็น ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะความสนใจของเด็กรุ่นนี้จะอยู่แค่ประมาณ 8 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่ได้รับควรสร้างแรงดึงดูดและสามารถเข้าใจง่ายตั้งแต่แรกเห็น ในขณะที่การใช้ “ดารา”มาเป็นพรีเซ็นเตอร์อาจจะไม่ส่งผลอีกต่อไป เพราะแบรนด์ควรใช้ Influencer ที่ให้ความรู้สึกเข้าถึงได้จริง หรือคนที่มีเครือข่ายของตัวเองเข้ามาแทนที่ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีชื่อเสียงขึ้นมาจากผู้ติดตามจำนวนมาก โดยเฉพาะทางช่องทาง social media ทำให้ข้อมูลจำพวก user-generated content จากกลุ่มคนเหล่านี้ ถูกมองว่าเชื่อถือได้มากกว่าในมุมของชาว Gen Z ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรกลุ่มนี้ จะชอบมากถ้าได้มีส่วนร่วมในการ Co-create กับแบรนด์ รวมถึงการร่วมคิด ร่วมสร้างเนื้อหา และร่วมสร้างสรรค์ไปพร้อมๆกับแบรนด์ ซึ่งใครที่สามารถดึงกลุ่มคนเหล่านี้มามีส่วนร่วมได้...

  • ‘ไม่โดนก็ดับ’แบรนด์รอดได้อย่างไรในโลกโซเชียลมีเดีย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โซเชียลมีเดีย” ยังคงถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่หลายๆ องค์กรไม่แน่ใจนักว่า จะนำมาใช้ให้เหมาะสมอย่างไร เอเยนซีจึงมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ลูกค้า นอกไปจากการให้คำปรึกษาเรื่องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ คำถามก็คือ เอเยนซีจะช่วยให้บริษัทเล่าเรื่องราวของตนเองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียอย่างจริงใจได้อย่างไร หากบริษัทต้องการจะสร้างคอนเทนท์ที่น่าสนใจ องค์กรต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับ“สื่อใหม่” ซึ่งนับเป็นเรื่องซับซ้อน โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นแบบ B2B แต่ในโลกยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคทุกคนล้วนแต่รับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะขายขนมขบเคี้ยว หรืออุปกรณ์การแพทย์ก็ตาม แม้ว่าวิธีการวัดผลทางธุรกิจที่ยังไม่แน่นอน ถือเป็นอุปสรรคของการบริหารโซเชียลมีเดีย แต่ปัญหาหลักจริงๆ แล้วอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร เพราะการสื่อสารกับผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย ต้องทำผ่านอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูลหนักๆ กรอบความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีอยู่ในบางองค์กร การมอบหมายให้คนภายนอกดูแลสื่อโซเชียล ไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมนัก บริษัทต้องมีบุคลากรภายในที่สามารถเลือกสรรแง่มุมและเล่าเรื่องราวขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเอเยนซีคอยให้คำปรึกษา หลายๆบริษัทพยายามควานหาผู้เชี่ยวชาญหนึ่งคนเข้ามาทำหน้าที่นี้ แต่พวกเขามักจะต้องพบกับสถานการณ์ที่คนอีกกลุ่มใหญ่ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งแรกที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรได้ก็คือ การช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าเราจะสร้างสรรค์เรื่องราวสำหรับโซเชียลมีเดียได้อย่างไร พวกเขาต้องหาทางพูดถึงจุดเด่นของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ โดยที่แบรนด์ไม่ได้เป็นจุดเด่น แต่อยู่รอบๆ เรื่องราวเหล่านั้น ผู้บริหารต้องเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคจะรับรู้ว่า นี่คือแบรนด์ของบริษัท แม้ว่าจะไม่ได้มีโลโก้ปะอยู่ก็ตาม จากนั้น ผู้บริหารต้องพยายามมองผ่านมุมของผู้บริโภค เช่น พวกเขาคิดอะไรเวลาที่พวกเขายืนต่อแถวในซูเปอร์มาร์เก็ตและเปิดเฟซบุ๊คไปด้วย แล้วเวลาดูฟุตบอลทางทีวี สิ่งใดบ้างที่จะสะดุดตาพวกเขา ที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย คู่แข่งของพวกเขาไม่ใช่แบรนด์อื่น แต่เป็นรูปลูกแมวและรูปงานแต่งงานของดาราที่อยู่รอบๆ พวกเขากำลังแข่งกับสิ่งอื่นๆทั้งหมดในโซเชียลมีเดียต่างหาก หลังจากนั้น จึงเริ่มคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่จะนำเสนอ ค่านิยมของบริษัทคืออะไร ใครคือกลุ่มเป้าหมาย พวกเขาเหล่านั้นมีความสนใจอะไร และเราจะสร้างคอนเทนท์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เป็นเรื่องน่าเสียดายที่บริษัทขนาดใหญ่ ประเด็นในการเล่าเรื่องมักจะถูกปรับแก้ให้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ซีอีโอ แผนกบุคคล และแผนกกฎหมาย แต่หากทุกๆคนได้รับอำนาจในการปรับคอนเทนท์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตน คอนเทนท์ ก็จะเป็นเรื่องราวเรียบๆ ที่ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้อ่านได้เท่าๆ กับโพสต์ของบล็อกเกอร์ที่เล่าเรื่องราวตลกๆของตนเอง ท้ายที่สุดแล้ว ถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่ต้องเปิดพื้นที่ให้กับการเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ อิสรภาพทางความคิดก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย และทำให้คอนเทนท์ ที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ การซื้อยอดวิวเป็นเรื่องง่าย แต่แบรนด์ไม่สามารถใช้เงินซื้อให้คนกดไลค์ หากเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตของพวกเขาอย่างแท้จริง ติดตามบทความนี้บนเว็ปไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้ทาง http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640592...

  • งานสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “PR Love Volution 2016” โดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไปบริษัทเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย

    เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย นำโดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไป เข้าร่วมงานสัมมนา “PR Lovevolution 2016” จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประชาสัมพันธ์ในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และอัพเดทข้อมูลข่าวสาร รวมถึงนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท โฮเทล กรุงเทพเมื่อเร็วๆนี้ คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์นั้นไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสาร หากยังเป็นหนทางอันดีที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนผ่านการสื่อสารที่สำคัญจากช่องทางแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มแบบดิจิตอล เป็นเหตุให้ภาพรวมของสื่อแต่ละแขนงเกิดการเปลี่ยนแปลงและธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถสื่อสารโดยใช้เพียงแค่ช่องทางแบบดั้งเดิมอีกต่อไป สืบเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภค คนจำนวนมากมักจะบริโภคสื่อผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารส่วนตัวของพวกเขา อาทิ สมาร์ทโฟน ไอโฟน ไอแพด เป็นต้น ซึ่งมีข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กประมาณ 20 ล้านคน และมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ผู้คนใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กเฉลี่ย 3.7 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น เทรนด์ในส่วนของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ หรือ Internet of Things จึงกลายเป็นหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นทั้งในและนอกที่ทำงาน อย่างไรก็ตามในส่วนของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เฟลชแมนฮิลลาร์ดได้ตั้งทีมวิเคราะห์และวิจัยข้อมูล เพื่อที่จะสามารถแนะนำโซลูชั่นด้านการวิเคราะห์เนื้อหาให้กับลูกค้า ทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารโดยใช้ข้อความที่เหมาะสมและพัฒนาแผนการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ ประสบการณ์ต่างๆถูกขับเคลื่อนโดย นวัตกรรม (Innovation): นักสื่อสารควรเลือกสื่อและนำวิธีการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค การสอดแทรกแนวความคิดใหม่ๆ(Disruption...

  • เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เปิดตัว FH 2020 นวัตกรรมและกลยุทธ์การบริหารสื่อสังคมออนไลน์ในภาวะวิกฤติ

    กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2558 – เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เอเจนซี่ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ครบวงจรระดับโลก ประกาศเปิดการให้บริการด้านการสื่อสาร โดยใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีผสานกับกลยุทธ์การสื่อสาร ที่เรียกว่า FH 2020 (เอฟเอช ทเวนตี้ทเวนตี้) เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาวะฉุกเฉินและวิกฤติบนโลกดิจิตอลและออนไลน์ พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าในภาคธุรกิจต่างๆ  ด้วยการเตรียมความพร้อม คาดคะเน ตรวจสอบ และบรรเทาวิกฤติตามเวลาจริง (Real-time crisis management) ผสานกับกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยบุคคลากร กระบวนการ และเครื่องมือเฉพาะพิเศษ ภายในสิ้นปี 2015 มีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถึงเกือบครึ่งของประชากรโลกหรือประมาณ 3 พันล้านคน[1] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวอันรวดเร็วของสื่อสังคมดิจิตอล รวมไปถึงแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลไปถึงความท้าทายทางธุรกิจในการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค การสั่งสมและปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์ ขณะเดียวกัน ยังต้องตามติดกระแสบนสื่อออนไลน์ที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งทำให้ช่องทางการสื่อสารถูกรวมเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นเพียงช่องทางใดช่องทางหนึ่งอีกต่อไป เทรนด์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ที่น่าจับตามอง ได้แก่: เป็นยุคที่เนื้อหามีบทบาทสำคัญ เนื้อหาไม่ใช่แค่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ต้องมีข้อมูลจำเพาะ ซึ่งข้อมูลจำเพาะเหล่านั้นจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ก่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค การจับคู่เนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคในเวลาที่เหมาะสมจะสร้างสายสัมพันธ์และบทสนทนาที่ต่อยอดสู่ภาพลักษณ์และธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ “ในยุคดิจิตอลและกระแสของสื่อสังคมออนไลน์  วิถีการสื่อสารและการสานสัมพันธ์กับผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก ซื่งไม่ใช่เพียงแค่การจัดการกับชื่อเสียงบนสื่อที่มีมาดั้งเดิมอีกต่อไป แต่เป็นการจัดการและติดตามเนื้อหาบทสนทนาบนสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ กระทู้ ผ่านบัญชีชื่อผู้เข้าใช้ที่นับไม่ถ้วน แบรนด์ต้องสามารถเข้าถึงและเข้าใจบทสนทนาของผู้บริโภคได้อย่างถ่องแท้ สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาซึ่งมีข้อมูลจำเพาะที่ตรงใจผู้บริโภคเพื่อป้องกันวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้น และรับมือกับข้อมูลจำนวนมากที่ประดังเข้ามาเมื่อเกิดวิกฤติขึ้น นี่คือความท้าทายขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยกับการจัดการและรับมือกับผู้บริโภคในบริบทใหม่นี้” โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าว การส่งต่อเนื้อหาให้เข้ากับความสนใจของผู้บริโภคในเวลาที่เหมาะสมถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค หากองค์กรมีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพก็จะสามารถทำให้เกิดบทสนทนาในเชิงบวก แสดงถึงความเป็นผู้นำเทรนด์ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยง และการสนับสนุนแบรนด์ในกลุ่มผู้บริโภคได้ กระบวนการของ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เริ่มต้นจาก 1...

  • เฟลชแมน ฮิลลาร์ดแนะองค์กรปรับแผนบริหารจัดการภาวะวิกฤต พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงจากโซเชียลมีเดีย และก้าวสู่ AEC อย่างมั่นคง

    กรุงเทพฯ, 15 ตุลาคม 2557 --- ภาครัฐและบริษัทเอกชนหลากหลายองค์กร กำลังเผชิญกับวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการโพสต์และแชร์ข้อมูลในโลกโซเชียลมีเดีย ช่องทางที่เชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับสังคมวงกว้างที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงพื้นที่จังหวัดหรือประเทศ แต่ขยายวงสู่นานาประเทศได้ในระยะเวลาเพียงวินาที ธุรกิจหลากหลายธุรกิจและการดำเนินงานมากมายต้องหยุด ฉะงัก เสียหาย หรือหมดความน่าเชื่อถือ เพราะคำถามและข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันในช่องทางโซเชียลมีเดีย บริษัทและองค์กรต้องมีการรับมือที่ดีเพื่อทำความเข้าใจ แก้ไขข้อมูล หรือตอบคำถามชี้แจงสังคมได้ ก่อนที่บริษัทจะได้รับความเสียหายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ไบรอัน เวส กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารภาพลักษณ์ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคผู้เชี่ยวชาญวางแผนการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตให้กับลูกค้าทั่วโลกของเฟลชแมน ฮิลลาร์ด บริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารครบวงจรระดับโลก บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากมีการใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ซึ่งองค์กรและแบรนด์ต่างๆ จะต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือก่อนเกิดภาวะวิกฤตในองค์กรของตน สรุปได้ 5 ข้อดังนี้ ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการตอบสนองในเรื่องต่างๆ ในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันทุกวันนี้ อุปสรรคที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย โอกาสที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้บริษัทมีช่องทางสื่อสร้างแจ้งข่าวเป็นของตัวเอง พนักงานแนวหน้า ต้องมีความสามารถรับมือหรือตอบคำถามในภาวะวิกฤต การควบคุมวิกฤตการณ์จากส่วนกลางกลายเป็นอดีตไปแล้ว องค์กรจำเป็นต้องลดขั้นตอนการตัดสินใจและการสั่งการลงในช่วงภาวะวิกฤต ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในเอเชียมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมียอดสูงเป็นอันดับต้นของโลก ประกอบกับการใช้สมาร์ทโฟนที่แพร่หลายในเอเชีย ทำให้องค์กรในเอเชียนี้ต้องเตรียมพร้อมรับมือเป็นอย่างดี ตัวอย่างของอุปสรรคและโอกาสที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย สามารถเห็นได้จากกรณีการประท้วงในฮ่องกงในขณะนี้ ขณะที่รัฐบาลพยายามปิดช่องทางการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันการสื่อสารและเผยแพร่ข้อความและภาพประท้วงต่างๆ รวมทั้งเว็บไซด์โซเชียลมีเดียชื่อดังในจีน เวยโป๋(Weibo.com) แต่ผู้นำการประท้วงในฮ่องกงยังสามารถหาสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างเช่น แอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ไฟร์แชท (FireChat) และเทเลแกรมเมสเซนเจอร์ (Telegram Messenger) มาเป็นช่องทางสื่อสารในกลุ่มผู้ประท้วงได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์กรอีกไม่น้อยที่ขาดความตระหนักถึงอุปสรรคจากโซเชียลมีเดีย ที่สามารถเกิดขึ้นกับองค์กรของตนเองได้ หรือแม้แต่การมองเห็นโอกาสในการใช้โซเชียลมีเดียสื่อสาร เพื่อพลิกให้องค์กรของตนเอง มาเป็นฝ่ายควบคุมสถานการณ์ สื่อสารสู่สาธารณชน และแสดงออกถึงความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ จากการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การรับมือที่ดีและทันถ่วงทีไม่เพียงแต่จะทำให้องค์กรรอดพ้นจากวิกฤต แต่ยังจะช่วยสร้างชื่อเสียงและเพิ่มความไว้วางใจให้กับองค์กรหรือแบรนด์...