Archive

Author: Corporate Marketing

  • เฟลชแมนฮิลลาร์ด เผยมุมมองมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 กับอนาคตที่ไปไกลกว่าการยึดติดกับ “แบรนด์”

    19 ตุลาคม 2561 -- เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ผู้นำด้านประชาสัมพันธ์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งระดับโลก เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดด้านความเชื่อ ทัศนคติ และมุมมองต่อสังคม ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการบริโภคของมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 ชี้ คนหนุ่มสาวยุคใหม่มีนิยามของความสำเร็จและความสุขที่ต่างออกไป แสวงหาความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และไม่ยึดติดกับแบรนด์ แม้ “เงิน” จะสำคัญ แต่ “ความสุข” นั้น สำคัญกว่า                                   ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 70% ยอมรับว่าเงินคือตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุด และอีกกว่า87% ยังเผยว่ารู้สึกดีที่ได้ใช้จ่ายเพื่อปรนเปรอตนเอง แต่พวกเขากลับบอกว่าแม้ว่า “เงิน” จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่พวกเขาก็มีความชัดเจนกับความต้องการของตัวเองมากพอที่จะไม่มองว่าเงินสำคัญมากไปกว่าความสุขในชีวิต นอกจากนี้ พวกเขายังให้ความเห็นต่อนิยามของความสุขว่าคือการมีสุขภาพที่ดี (67%) และการมีเวลาให้กับตัวเองและความมีอิสระในการใช้ชีวิต (67%) ขณะที่สัดส่วนของมนุษย์มิลเลนเนียลที่ให้ความสำคัญกับการออมเงินมีประมาณ 55% ยอมเปย์เท่าไหร่ก็ได้ หากแบรนด์เข้าใจตัวตนของฉัน                                  ...

  • FleishmanHillard Unveils Perspectives of Thai Millennials 4.0 and the Future Beyond “Brand”

    19 October 2018 – FleishmanHillard Thailand, the world’s leading communications and digital marketing agency, unveils its latest report on the beliefs, attitudes and social perceptions, as well as the living and consumption behavior of Thai Millennial Version 4.0. According to the report, Thai Millennials seem to different definition of success and happiness, long for some changes within the Thai society and do not attach themselves to specific brands. Money may be an essential, but happiness...

  • กลยุทธ์ด้านการตลาด จับทางผู้บริโภค Gen Z

    ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันและการส่งผ่านสู่ เจเนอเรชั่นใหม่ที่เรียกตัวเองว่า Generation Z กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2538-2553 ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามปรับตัวให้เท่าทันกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด เพราะเป็นมีกำลังซื้อมากและเป็นวัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้นการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่ง เนื่องด้วยช่วงวัยนี้ เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อม Digital และ Social Media ที่หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือประชากรในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มาใช้เวลาอยู่กับ“หน้าจอ”เป็นส่วนมาก ดังนั้นปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ได้รับในแต่ละวันจะมีมากมายมหาศาล นักการตลาดจึงต้องพยายามอย่างมากเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พร้อมหาลูกเล่นใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการและดึงดูดความสนใจของประชากร Gen Z ให้ได้ อาทิ การเน้นใช้รูปภาพ อินโฟกราฟิก หรืออินเทอร์เน็ตมีม (Internet memes) ที่มีสีสันและดีไซน์สวยงาม เพราะเด็กรุ่นนี้เติบโตมากับการเล่นเกม ดูยูทูบ หรือรายการโทรทัศน์ ดังนั้นการจะดึงความสนใจของคนกลุ่มนี้จึงควรเน้นไปที่การใช้ภาพ เพื่อสื่อความและนำมาผสมผสานเข้ากับเนื้อหาทางการตลาด และด้วยความโด่งดังของ Social Channels อาทิ Vines, Snapchat และ Instagram ที่เปิดให้ผู้ใช้งานอัพโหลดคลิปสั้นๆ เพื่อแชร์กันในโลกออนไลน์ ทำให้ Gen Z ถือเป็นกลุ่มคนที่ดูคลิปวีดิโอมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ถึงเกือบ 2 เท่าดังนั้น การใช้คลิปวีดิโอสั้นๆ เพื่อเป็นสื่อทางการตลาดก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ การใช้ภาษาที่กระชับและตรงประเด็น ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะความสนใจของเด็กรุ่นนี้จะอยู่แค่ประมาณ 8 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่ได้รับควรสร้างแรงดึงดูดและสามารถเข้าใจง่ายตั้งแต่แรกเห็น ในขณะที่การใช้ “ดารา”มาเป็นพรีเซ็นเตอร์อาจจะไม่ส่งผลอีกต่อไป เพราะแบรนด์ควรใช้ Influencer ที่ให้ความรู้สึกเข้าถึงได้จริง หรือคนที่มีเครือข่ายของตัวเองเข้ามาแทนที่ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีชื่อเสียงขึ้นมาจากผู้ติดตามจำนวนมาก โดยเฉพาะทางช่องทาง social media ทำให้ข้อมูลจำพวก user-generated content จากกลุ่มคนเหล่านี้ ถูกมองว่าเชื่อถือได้มากกว่าในมุมของชาว Gen Z ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรกลุ่มนี้ จะชอบมากถ้าได้มีส่วนร่วมในการ Co-create กับแบรนด์ รวมถึงการร่วมคิด ร่วมสร้างเนื้อหา และร่วมสร้างสรรค์ไปพร้อมๆกับแบรนด์ ซึ่งใครที่สามารถดึงกลุ่มคนเหล่านี้มามีส่วนร่วมได้...

  • ‘ไม่โดนก็ดับ’แบรนด์รอดได้อย่างไรในโลกโซเชียลมีเดีย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โซเชียลมีเดีย” ยังคงถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่หลายๆ องค์กรไม่แน่ใจนักว่า จะนำมาใช้ให้เหมาะสมอย่างไร เอเยนซีจึงมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ลูกค้า นอกไปจากการให้คำปรึกษาเรื่องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ คำถามก็คือ เอเยนซีจะช่วยให้บริษัทเล่าเรื่องราวของตนเองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียอย่างจริงใจได้อย่างไร หากบริษัทต้องการจะสร้างคอนเทนท์ที่น่าสนใจ องค์กรต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับ“สื่อใหม่” ซึ่งนับเป็นเรื่องซับซ้อน โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นแบบ B2B แต่ในโลกยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคทุกคนล้วนแต่รับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะขายขนมขบเคี้ยว หรืออุปกรณ์การแพทย์ก็ตาม แม้ว่าวิธีการวัดผลทางธุรกิจที่ยังไม่แน่นอน ถือเป็นอุปสรรคของการบริหารโซเชียลมีเดีย แต่ปัญหาหลักจริงๆ แล้วอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร เพราะการสื่อสารกับผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย ต้องทำผ่านอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูลหนักๆ กรอบความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีอยู่ในบางองค์กร การมอบหมายให้คนภายนอกดูแลสื่อโซเชียล ไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมนัก บริษัทต้องมีบุคลากรภายในที่สามารถเลือกสรรแง่มุมและเล่าเรื่องราวขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเอเยนซีคอยให้คำปรึกษา หลายๆบริษัทพยายามควานหาผู้เชี่ยวชาญหนึ่งคนเข้ามาทำหน้าที่นี้ แต่พวกเขามักจะต้องพบกับสถานการณ์ที่คนอีกกลุ่มใหญ่ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งแรกที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรได้ก็คือ การช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าเราจะสร้างสรรค์เรื่องราวสำหรับโซเชียลมีเดียได้อย่างไร พวกเขาต้องหาทางพูดถึงจุดเด่นของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ โดยที่แบรนด์ไม่ได้เป็นจุดเด่น แต่อยู่รอบๆ เรื่องราวเหล่านั้น ผู้บริหารต้องเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคจะรับรู้ว่า นี่คือแบรนด์ของบริษัท แม้ว่าจะไม่ได้มีโลโก้ปะอยู่ก็ตาม จากนั้น ผู้บริหารต้องพยายามมองผ่านมุมของผู้บริโภค เช่น พวกเขาคิดอะไรเวลาที่พวกเขายืนต่อแถวในซูเปอร์มาร์เก็ตและเปิดเฟซบุ๊คไปด้วย แล้วเวลาดูฟุตบอลทางทีวี สิ่งใดบ้างที่จะสะดุดตาพวกเขา ที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย คู่แข่งของพวกเขาไม่ใช่แบรนด์อื่น แต่เป็นรูปลูกแมวและรูปงานแต่งงานของดาราที่อยู่รอบๆ พวกเขากำลังแข่งกับสิ่งอื่นๆทั้งหมดในโซเชียลมีเดียต่างหาก หลังจากนั้น จึงเริ่มคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่จะนำเสนอ ค่านิยมของบริษัทคืออะไร ใครคือกลุ่มเป้าหมาย พวกเขาเหล่านั้นมีความสนใจอะไร และเราจะสร้างคอนเทนท์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เป็นเรื่องน่าเสียดายที่บริษัทขนาดใหญ่ ประเด็นในการเล่าเรื่องมักจะถูกปรับแก้ให้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ซีอีโอ แผนกบุคคล และแผนกกฎหมาย แต่หากทุกๆคนได้รับอำนาจในการปรับคอนเทนท์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตน คอนเทนท์ ก็จะเป็นเรื่องราวเรียบๆ ที่ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้อ่านได้เท่าๆ กับโพสต์ของบล็อกเกอร์ที่เล่าเรื่องราวตลกๆของตนเอง ท้ายที่สุดแล้ว ถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่ต้องเปิดพื้นที่ให้กับการเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ อิสรภาพทางความคิดก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย และทำให้คอนเทนท์ ที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ การซื้อยอดวิวเป็นเรื่องง่าย แต่แบรนด์ไม่สามารถใช้เงินซื้อให้คนกดไลค์ หากเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตของพวกเขาอย่างแท้จริง ติดตามบทความนี้บนเว็ปไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้ทาง http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640592...

  • Thailand’s Citizen Journalists

    As much as anywhere in the world, Thailand is filled with social media addicts—but out of necessity in Thailand’s case. Bangkok, the site of much of the political unrest of recent months, is home to one of the largest Facebook populations in the world, with 90 percent of those in the city using the channel to communicate. Its 7.5 million users place it fifth among rankings by Czech social media monitor Social Bakers. Bangkok also...

  • PR Love Volution 2016 with Sophis Kasemsahasin, Senior Vice President, Partner and General Manager FleishmanHillard Thailand

    FleishmanHillard Thailand led by Sophis Kasemsahasin Senior Vice President, Partner and General Manager, recently attended “PR Lovevolution 2016” Seminar which has been conducted by the Bangkok University for inviting PR professionals in various industries to update information and explore the new ideas about public relations at Windsor Suites Hotel Bangkok.        “Public relations are not only the communication tool, but also the chance   to open up new opportunities. Nowadays there has been significantly changed from...

  • งานสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “PR Love Volution 2016” โดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไปบริษัทเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย

    เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย นำโดย คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์และผู้จัดการทั่วไป เข้าร่วมงานสัมมนา “PR Lovevolution 2016” จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประชาสัมพันธ์ในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และอัพเดทข้อมูลข่าวสาร รวมถึงนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท โฮเทล กรุงเทพเมื่อเร็วๆนี้ คุณโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟรชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์นั้นไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสาร หากยังเป็นหนทางอันดีที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนผ่านการสื่อสารที่สำคัญจากช่องทางแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มแบบดิจิตอล เป็นเหตุให้ภาพรวมของสื่อแต่ละแขนงเกิดการเปลี่ยนแปลงและธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถสื่อสารโดยใช้เพียงแค่ช่องทางแบบดั้งเดิมอีกต่อไป สืบเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภค คนจำนวนมากมักจะบริโภคสื่อผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารส่วนตัวของพวกเขา อาทิ สมาร์ทโฟน ไอโฟน ไอแพด เป็นต้น ซึ่งมีข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กประมาณ 20 ล้านคน และมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ผู้คนใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กเฉลี่ย 3.7 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น เทรนด์ในส่วนของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ หรือ Internet of Things จึงกลายเป็นหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นทั้งในและนอกที่ทำงาน อย่างไรก็ตามในส่วนของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เฟลชแมนฮิลลาร์ดได้ตั้งทีมวิเคราะห์และวิจัยข้อมูล เพื่อที่จะสามารถแนะนำโซลูชั่นด้านการวิเคราะห์เนื้อหาให้กับลูกค้า ทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารโดยใช้ข้อความที่เหมาะสมและพัฒนาแผนการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ ประสบการณ์ต่างๆถูกขับเคลื่อนโดย นวัตกรรม (Innovation): นักสื่อสารควรเลือกสื่อและนำวิธีการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค การสอดแทรกแนวความคิดใหม่ๆ(Disruption...

  • FleishmanHillard Strengthens Global Crisis Communications Practice in Thailand with the Expansion of FH 2020

    BANGKOK, September 24, 2015 – FleishmanHillard Inc., the world’s most complete global communications firm, today announced the expansion of its crisis communications practice with the deployment of FH 2020, a digital media crisis management solution offered in all locations needed by clients and in the areas most effective for them. FH 2020 enables businesses to prepare, anticipate, detect and mitigate crises in real-time through a strategic combination of people, processes and technologies. The estimated number...

  • เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เปิดตัว FH 2020 นวัตกรรมและกลยุทธ์การบริหารสื่อสังคมออนไลน์ในภาวะวิกฤติ

    กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2558 – เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เอเจนซี่ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ครบวงจรระดับโลก ประกาศเปิดการให้บริการด้านการสื่อสาร โดยใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีผสานกับกลยุทธ์การสื่อสาร ที่เรียกว่า FH 2020 (เอฟเอช ทเวนตี้ทเวนตี้) เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาวะฉุกเฉินและวิกฤติบนโลกดิจิตอลและออนไลน์ พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าในภาคธุรกิจต่างๆ  ด้วยการเตรียมความพร้อม คาดคะเน ตรวจสอบ และบรรเทาวิกฤติตามเวลาจริง (Real-time crisis management) ผสานกับกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยบุคคลากร กระบวนการ และเครื่องมือเฉพาะพิเศษ ภายในสิ้นปี 2015 มีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถึงเกือบครึ่งของประชากรโลกหรือประมาณ 3 พันล้านคน[1] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวอันรวดเร็วของสื่อสังคมดิจิตอล รวมไปถึงแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลไปถึงความท้าทายทางธุรกิจในการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค การสั่งสมและปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์ ขณะเดียวกัน ยังต้องตามติดกระแสบนสื่อออนไลน์ที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งทำให้ช่องทางการสื่อสารถูกรวมเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นเพียงช่องทางใดช่องทางหนึ่งอีกต่อไป เทรนด์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ที่น่าจับตามอง ได้แก่: เป็นยุคที่เนื้อหามีบทบาทสำคัญ เนื้อหาไม่ใช่แค่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ต้องมีข้อมูลจำเพาะ ซึ่งข้อมูลจำเพาะเหล่านั้นจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ก่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค การจับคู่เนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคในเวลาที่เหมาะสมจะสร้างสายสัมพันธ์และบทสนทนาที่ต่อยอดสู่ภาพลักษณ์และธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ “ในยุคดิจิตอลและกระแสของสื่อสังคมออนไลน์  วิถีการสื่อสารและการสานสัมพันธ์กับผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก ซื่งไม่ใช่เพียงแค่การจัดการกับชื่อเสียงบนสื่อที่มีมาดั้งเดิมอีกต่อไป แต่เป็นการจัดการและติดตามเนื้อหาบทสนทนาบนสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ กระทู้ ผ่านบัญชีชื่อผู้เข้าใช้ที่นับไม่ถ้วน แบรนด์ต้องสามารถเข้าถึงและเข้าใจบทสนทนาของผู้บริโภคได้อย่างถ่องแท้ สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาซึ่งมีข้อมูลจำเพาะที่ตรงใจผู้บริโภคเพื่อป้องกันวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้น และรับมือกับข้อมูลจำนวนมากที่ประดังเข้ามาเมื่อเกิดวิกฤติขึ้น นี่คือความท้าทายขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยกับการจัดการและรับมือกับผู้บริโภคในบริบทใหม่นี้” โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าว การส่งต่อเนื้อหาให้เข้ากับความสนใจของผู้บริโภคในเวลาที่เหมาะสมถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค หากองค์กรมีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพก็จะสามารถทำให้เกิดบทสนทนาในเชิงบวก แสดงถึงความเป็นผู้นำเทรนด์ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยง และการสนับสนุนแบรนด์ในกลุ่มผู้บริโภคได้ กระบวนการของ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เริ่มต้นจาก 1...

  • FleishmanHillard Bangkok holds media interview on “Five paradigm shifts in crisis management and a way forward to AEC competition”

    BANGKOK, October 15, 2014 — Companies are facing the perfect tsunami when crisis hits in today’s hyper-connected, always-on social media world. When normal business is suddenly interrupted, a company can find itself unprepared and unable to rapidly gather and assess the necessary information to understand what has happened and what they should do to respond. Then a wall of intense scrutiny - from the community, media and government, questioning, rumors and speculation online, and often...